การมีส่วนร่วมของประชาชน กับการประชุมครั้งสุดท้ายในรัฐสภา

การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการประชุมสภา และคณะกรรมาธิการเรื่องขยะ Karnnikro
การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการประชุมสภา และคณะกรรมาธิการเรื่องขยะ Karnnikro
การมีส่วนร่วมของประชาชน : ประชุมสภาในฐานะที่ปรึกษาประธานกรรมาธิการคณะพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน ของผมนั้นได้เข้าร่วมแบบพยายามทำประโยชน์ให้กับประเทศมากที่สุด แต่ว่าคาดหวังกับมันมากกว่านี้ในอนาคต หากมีโอกาสได้เข้ามาทำงานอีก

การมีส่วนร่วมของประชาชน : ประชุมสภาในฐานะที่ปรึกษาประธานกรรมาธิการคณะพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน ของผมนั้นได้เข้าร่วมแบบพยายามทำประโยชน์ให้กับประเทศมากที่สุด แต่ว่าคาดหวังกับมันมากกว่านี้ในอนาคต หากมีโอกาสได้เข้ามาทำงานอีก บทความนี้คงเป็นการบันทึกสั้น ๆ ของการทำงานในคณะกรรมาธิการ หลังจากที่ จัดอีเว้นท์ TEDx ที่ บางขุนเทียน จบไป

ภาษาอังกฤษ ด้านล่าง English below:

การมีส่วนร่วมของประชาชน

ผมได้เข้าร่วมคณะกรรมาธิการนี้หลังจากจบการทำงาน TEDxBangKhunThian ดังที่กล่าวไปข้างต้น ซึ่งดูจากชื่อคณะกรรมาธิการแล้ว เป็นความตื่นเต้นสำหรับผมไม่ใช่น้อยเลยเพราะการได้มีส่วนร่วมหรือการออกแบบกฎกติกา ที่ทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมได้คือสังคมอุดมคติของผมเลยล่ะครับ แต่ข้อจำกัดมันก็มีเพราะประเทศไทยในปัจจุบันยังไม่ใช่ประเทศในกลุ่มพัฒนาแล้ว (Developed Country) การมีส่วนร่วมของประชาชน อาจจะลดน้อยลงกว่าการมีส่วนร่วมของกลุ่มประเทศที่ไม่ต้องกังวลเรื่องรายได้ของตนแล้ว อย่างไรก็ดีการที่ประชาชนมีรายได้ต่อประชากรต่อหัวไม่สูงมากนั้นก็ไม่ได้แปลว่าประชาชนจะไม่มีส่วนร่วมในหัวข้อของสังคมในประเด็นต่าง ๆ ในกรณีนี้เราได้เห็นการส่วนร่วมของกลุ่มประชาชนที่มีปัญหาสอดคล้องกับประเด็นที่ส่งผลกระทบกับปัญหาปากท้องของตนโดยตรง และในขณะเดียวกันผมยังเจอกลุ่มประชาชนที่เรียกได้ว่าเป็น Active Citizen ที่ร่วมกลุ่มกันเพื่อพัฒนาเมืองในหัวข้อต่าง ๆ อีกด้วย

ประชุม กรรมาธิการ ขยะล้นกาญจนบุรี
ประชุม กรรมาธิการ ขยะล้นกาญจนบุรี วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 ที่อาคารรัฐสภาเกียกกาย ห้อง N407

กลับมาที่การประชุมคณะกรรมาธิการครั้งสุดท้ายในสมัยนี้ฐานะที่ปรึกษา เป็นหัวข้อเกี่ยวกับการกำจัดขยะที่ระดับมหึมาในจังหวัดกาญจนบุรี ที่มีกลุ่มประชาชนในพื้นที่จำนวนหนึ่งส่งคำร้องถึงผลกระทบ ทั้งด้านมลภาวะทางกลิ่น ความสะอาด และด้านอื่น ๆ ส่งผลให้มีคนท้องเสียจำนวนมากจากการเพิ่มขึ้นของพาหะนำโรคอย่างแมลงวันซึ่งกินสิ่งปฏิกูลในขยะเป็นอาหารและนำไปสู่ประชาชนในพื้นที่ ทางคณะกรรมาธิการได้ประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งการประชุมที่ผมเข้าร่วมถือว่าประสบความสำเร็จ เหตุผลเพราะว่าการดำเนินการนั่นได้มีความคืบหน้าไปอย่างมาก โดยผมจะเล่าเรื่องย่อ ๆ นั่นก็คือ มีพื้นที่หนึ่งในกาญจนบุรี โดนลอบทิ้งขยะมาเกือบ 30 ปี ซึ่งมีขยะเป็นล้านตันที่บ่อขยะเชิงเขาทอง ซึ่งความเป็นพิษ Chemical Oxygen Demand หรือเรียกย่อๆ ว่า COD คือค่าที่บอกคุณภาพของน้ำ แสดงความสกปรกของน้ำเสียจากบ้านเรือน หรือโรงงานอุตสาหกรรม สูงถึง 1,700 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่ง ปรกติมันจะอยู่ราว ๆ 400 มิลลิกรัมต่อลิตร และช่วงพีคก่อนหน้านี้พุ่งไปสูงถึง 3,000 มิลลิกรัมต่อลิตร

ซึ่งการปฎิบัติการหลังจากการประชุมนำมาซึ่งข้อตกลงที่ทำให้หยุดการทิ้งขยะเพิ่มในพื้นที่ ซึ่งดำเนินการทันทีเรียบร้อยแล้ว รวมทั้งการจัดการขยะเก่า และบริหารจัดการขยะ ไปยังโรงงานกำจัดขยะในพื้นที่อย่างน้อยสองโรงงานที่สามารถกำจัดขยะได้ ซึ่งโรงงานกำจัดขยะในกาญจนบุรีนั้น รับขยะจาก กรุงเทพมหานครไปกำจัด 100% โดยไม่มีขยะที่มาจากส่วนอื่นเลย

จากการทำงานเห็นข้อสังเกต

ในปัจจุบัน การมีส่วนร่วมของประชาชน ของประเทศไทยเกิดมาจากการได้รับปัญหาโดยตรงซึ่งนำมาซึ่งผู้คนออกมาเรียกร้อง ทั้งด้านการเมือง สิ่งแวดล้อม หรือการเป็นอยู่ที่ดีขึ้น หลังจากเห็นปัญหาแล้วจึงเรียกร้องให้แก้ไข โดยวิธีต่าง ๆ การทำแคมเปญหรือการรณรงค์ ประชามติ รวมทั้งยื่นข้อเสนอ

ในมุมมองของผมนั่นคิดว่าการเริ่มต้นแบบนี้เป็นสิ่งที่ดีอยู่แล้วที่ดึงประชาชนทุกภาคส่วน และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมามีส่วนร่วมได้ และหากเราเห็นปัญหาและทางแก้ไขย่อมเป็นเรื่องที่ดี

อุดมคติของ การมีส่วนร่วมของประชาชน

ในอุดมคติของผม สังคมที่ทุกคนมีส่วนร่วมได้จะช่วยให้เราลดความกังวลให้กับผู้คนในเรื่องการหาเลี้ยงชีพและการเป็นอยู่ จะเห็นการมีส่วนร่วมของผู้คนที่เห็นโอกาส โอกาสที่สามารถนำไปสู่การเติบโตและการเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และช่วยเป็นตัวก้าวข้ามช่องว่างที่แบ่งกันอยู่ในปัจจุบัน

การมีส่วนร่วมของผู้คนในการแก้ไขปัญหาเป็นเพียงจุดเริ่มต้น ผมเชื่อว่าการมีส่วนร่วมในการสร้างโอกาสและการเปลี่ยนแปลงจะเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากกว่า ดังนั้น ผมอยากเห็นผู้คนเล่นเกมบนหน้ากระดานใหม่ เพื่อให้สามารถก้าวไปข้างหน้าอย่างก้าวกระโดดได้มากขึ้น และเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงมุมมองจะช่วยเราในการถึงจุดหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

บทสรุปแล้ว

การเข้าไปทำงานในรัฐสภาวันสุดท้าย ทำให้เห็นถึงช่องว่าง พื้นที่ที่ยังมีโอกาสเติบโตของประเทศอีกมาก ถ้าเราใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้มีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บุคลากรในประเทศ การพัฒนาความรู้และระบบการศึกษาควบคู่ไปกับการลดความเหลื่อมล้ำ ทั้งนี้ผมเชื่ออย่างยิ่งว่า ประเทศของเราดีขึ้นได้

การมีส่วนร่วมของประชาชนที่ดีที่สุด คือประชาชนเห็นโอกาสแห่งอนาคต และร่วมมือในการสร้างมัน

Karnnikro – คำคม

Public Participation

As an advisor to the President of the Development of Political Communication and Citizen Participation Committee, I have tried my best to benefit the country to the fullest during the parliamentary session. However, my expectations for the future are even greater, and if given the opportunity to work again, this article would serve as a brief record of my work in the committee after completing the TEDxBangKhunThian event.

In the committee

I joined the committee after finishing my work at TEDxBangKhunThian, which, judging by the committee’s name, was quite exciting for me. Participating in or designing regulations that allow citizen participation is in line with my attitude towards a society of inclusivity. Nevertheless, there are limitations because Thailand is not yet a developed country. Citizen participation may be less than that of groups from countries that are not concerned with their income. Nonetheless, the fact that the citizens’ income per capita is not very high does not mean that they are not involved in various social issues. In this case, we have seen the involvement of citizens who have problems related to issues that directly affect them, and at the same time, I have encountered active citizens’ groups who have come together to develop the city in various fields.

Returning to the final committee meeting of this era, the consultant status was the topic regarding the elimination of waste at the provincial level in Kanchanaburi, which had some groups of people in the area submit a petition about the impact, including the smell of pollution, cleanliness, and other factors that resulted in many people getting sick due to the increase in disease-carrying insects such as flies that ate the waste as food and brought them to the local population. The committee coordinated with related agencies to solve the problem. The meeting that I attended was successful because there was a lot of progress in the operation.

In brief, there was an area in Kanchanaburi that had been illegally dumping waste for almost 30 years, with millions of tons of waste in the dumpsite called Khao Thong landfill. The Chemical Oxygen Demand (COD) is a measure of water quality that indicates the pollution level of wastewater from households or industrial factories. The normal level is about 400 milligrams per liter, but in the peak period, it increased to 3,000 milligrams per liter, and in this case, it was as high as 1,700 milligrams per liter.

After the meeting, the agreement was reached to stop the increase of waste in the area, which was immediately implemented, and the management of old waste and waste disposal was carried out to at least two waste disposal plants in the area. The waste disposal plant in Kanchanaburi received 100% of waste from Bangkok without any illegal dumping.

Observations at work

From my observations at work, the current public participation in Thailand is born out of directly experiencing problems that lead people to come out and demand change in politics, the environment, or living conditions. Once they identify the problem, they demand it to be solved through various means such as campaigning, petitions, or presenting proposals. From my perspective, this is a good starting point that involves all sectors of the population and relevant organizations to participate. Seeing problems and having effective solutions is a good thing.

The ideal of Public Participation.

In my opinion, a society where everyone can participate helps reduce people’s anxiety about livelihoods and living conditions. The participation of people who see opportunities, opportunities that can lead to growth and better living conditions, can help bridge the gap that currently separates us.

Participation in problem-solving is just the beginning. I believe that participation in creating opportunities and change will be a more powerful tool. Therefore, I want to see people play the game on a new board, so they can take bigger steps forward. I believe that changing perspectives will help us reach our goals more effectively.

In conclusion, working in the Parliament has allowed me to see gaps and areas where the country still has much room for growth. If we can use our limited resources to have more public participation, we will create a society that is better prepared for the challenges of the future.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You May Also Like
สิ่งแวดล้อม Environmental
Read More

สิ่งแวดล้อม เราใส่ใจกับมันแค่ไหน

สิ่งแวดล้อม เราใส่ใจกับมันแค่ไหน หลาย ๆ คนให้ความสำคัญ รวมทั้งผู้นำระดับโลกต่างก็บอกว่ามันสำคัญ แต่จริง ๆ แล้วเราให้ความสำคัญกับมันจริงหรือ
Read More
SDGs UNDP
Read More

SDGs เป้าหมายแห่งสหประชาชาติ กับการทำธุรกิจ

SDGs เป้าหมายแห่งสหประชาชาติ กับการทำธุรกิจ ซึ่งปัจจุบันเราจะได้ยินศัพท์ใหม่ ๆ เต็มไปหมด ตั้งแต่ BCG, ESG, CSV, PPP ซึ่งล้วนแล้วแต่ทำให้เราใส่ใจต่อสังคมมากยิ่งขึ้น แล้วมาดูกันว่า SDGs หรือ เป้าหมายความยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ จะสัมพันธ์กับการทำธุรกิจเราได้อย่างไร และทำไมเราต้องใส่ใจเรื่องนี้
Read More
บางขุนเทียน TEDx karn nikrosahakiat
Read More

พาบางขุนเทียน ไป เติบโต งดงาม บน ความยั่งยืน กับ TEDx

ความยั่งยืน ของบางขุนเทียนจะไป เติบโต และ งดงาม อย่างยั่งยืน ให้บางขุนเทียน ไปต่อชูเรื่องความยั่งยืน ให้เป็นจุดแข็งของบางขุนเทียนปีนี้!
Read More