พยายามกระทำความผิด มาตรา 80 ประมวลกฎหมายอาญา

ผู้ใดกระทำความผิด มาตรา 80 อาญา
ผู้ใดกระทำความผิด มาตรา 80 อาญา
ผู้ใดกระทำความผิด มาตรา 80 อาญา

มาตรา 80 ผู้ใดลงมือกระทำความผิดแต่กระทำไปไม่ตลอด หรือกระทำไปตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล ผู้นั้นพยายามกระทำความผิด

ผู้ใดพยายามกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น

มาตรา 80 พยายามกระทำความผิด

มาตรานี้กล่าวถึงการพยายามกระทำความผิด โดยโครงสร้างของตัวบทนี้ แบ่งออกมาเป็น โครงสร้างและส่วนประกอบนี้

  • ผู้ใดลงมือกระทำความผิด
    • กระทำไปไม่ตลอด
  • หรือ
    • กระทำไปตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล
  • ผู้นั้นพยายามกระทำความผิด
    • ผู้ใดพยายามกระทำความผิด
    • ผู้นั้นต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น

แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าผุ้นั้นเป็นผู้ที่พยายามกระทำความผิด ก็ให้ดูจากขั้นที่ผู้นั้นลงมือกระทำความผิดนั้น หากยังไม่ถึงขั้นลงมือกระทำ หรือการกระทำยังไม่เกิดขึ้น ก็ยังไม่ใช่เป็นผู้พยายาม ไม่ให้เอามาตรานี้มาบังคับใช้

การพยายามกระทำความผิด

คือการทื่หากทำไปหมดครบทุกการกระทำจะเป็นความผิด ให้ดูถึงลักษณะการกระทำที่ใกล้ต่อความเสียหายที่สุด ยกตัวอย่างเช่นการ ฆ่าผู้อื่นโดยใช้ปืนยิง การกระทำนั้นจะอยู่ที่การเล็งปืน เพราะเหลืออีกการกระทำเดียวเท่านั้นคือลั่นไกปืน และจะเกิดความเสียหาย หรือการวิ่งราวทรัพย์ คือการที่หยิบทรัพย์ไปนั้นเองแล้วแต่กรณี

ที่มีมาตรานี้เพราะ

การกระทำหากกระทำไปตลอดจนความผิดสำเร็จ จะเกิดความเสียหายที่รุนแรงกว่า ซึ่งกฎหมายจึงบัญญัติไว้ให้ต้องรับผิดทางกฎหมายด้วย แต่มีโทษเบากว่า

องค์ประกอบสำคัญของมาตรา 80 คือ

  • มีเจตนา
  • กระทำความผิดถึงขั้นลงมือ
  • ไปไปไม่ตลอด หรือทำแล้วแต่ไม่บรรลุผล

การเจตนา ดูมาตรา 59 วรรคสอง ประกอบกัน

มาตรา 59 วรรคสอง “กระทำโดยเจตนำ ได้แก่กระทำโดยรู้สำนึกในกำรที่กระทำและใน ขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของกำรกระทำนั้น”

  • เป็นประสงค์ต่อผลลัพทธ์นั้น หรือ
  • เล็งเห็นผลว่ามันจะเกิดขึ้น ก็ได้

การที่ผู้ใดประมาทนั้นไม่ต้องหยิบ มาตรา 80 ว่าด้วยการพยายามความผิดนั้นมาบังคับใช้ เหตุผลเพราะไม่ได้มีเจตนา หรือพยายามกระทำความผิดนั้นตั้งแต่แรก

พิจารณาถึงลักษณะองค์ประกอบทุกส่วนของการกระทำ จะหาจากคำพูดเช่น ฉันจะฆ่าเธอ นั้นอาจไม่ใช่ทั้งหมดของลักษณะการพยายามฆ่า หรือ เจตนาฆ่า

ตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3916/2534

จำเลยใช้อาวุธปืนจี้ที่ขมับผู้เสียหายพร้อมกับพูดว่า กูจะฆ่ามึงทิ้ง ถ้ามึงไปถึงกิ่งเมื่อไรกูจะฆ่าเมื่อนั้น

ดังนี้ คำพูดของจำเลยขณะที่ใช้อาวุธปืนจี้ผู้เสียหายมีความหมายชัดเจนว่าจำเลยจะยิงผู้เสียหายเมื่อไปถึงกิ่งอำเภอไม่ใช่ยิงในขณะนั้น เป็นการกระทำในลักษณะขู่ผู้เสียหายมากกว่า

หากจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย ก็คงใช้อาวุธปืนนั้นยิงผู้เสียหายทันทีโดยไม่ต้องใช้อาวุธปืนจี้และมีการพูดถึงเหตุการณ์ในอนาคตเช่นนั้น

ประกอบกับผู้เสียหายกับจำเลยไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อน และจำเลยกระทำในขณะเมาสุรา

การกระทำของจำเลยยังถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2491

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขนย้ายข้าวออกนอกเขตจังหวัดสมุทรสาครอันเป็นเขตกักกันข้าวขอให้ลงโทษตาม พระราชบัญญัติสำรวจและห้ามกักกันข้าวแต่โจทก์สืบพยานได้ความว่าขณะจำเลยถูกจับนั้นจำเลยยังมิทันได้นำข้าวออกนอกเขตจังหวัดสมุทรสาคร
ดังนี้ เมื่อจำเลยมีเจตนาและการขนย้ายข้าวได้กระทำลงจนใกล้ชิดกับผลสำเร็จแล้ว ก็ลงโทษฐานพยายามได้ ไม่ใช่เป็นเรื่องข้อเท็จจริงต่างกับฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 864/2502

จำเลยยิงปืนตรงไปทางผู้เสียหาย แต่กระสุนปืนไม่ถูกผู้เสียหายเพราะผู้เสียหายหลบเสียก่อนนั้น เป็นการกระทำไปตลอดแล้ว หากแต่ไม่บรรลุผลตามที่จำเลยเจตนาเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าคน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You May Also Like
คนไร้ความสามารถ ตามกฎหมาย
Read More

คนไร้ความสามารถ ตามกฎหมาย

คนไร้ความสามารถ ตามกฎหมาย ระบุไว้ถึงความสามารถของบุคคลที่ทำให้บุคคลคนนั้นไม่สามารถทำนิติกรรมใด ๆ ได้แบบสมบูรณ์ และทำให้ต้องมีผุ้ที่คอยดูแล ทางกฎหมายเรียกว่าผู้อนุบาล ผู้ซึ่งดูแลคนไร้ความสามารถเพื่อรักษาสิทธิของเขาและครอบครัว
Read More