การให้เหตุผลทางกฎหมาย

legal logic การให้เหตุผลทางกฎหมาย ตรรกศาสตร์ นิติตรรกศาสตร์
legal logic การให้เหตุผลทางกฎหมาย ตรรกศาสตร์ นิติตรรกศาสตร์
การให้เหตุผลทางกฎหมาย นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากในระบบกฎหมายแบบ Civil Laws

การให้เหตุผลทางกฎหมาย นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากในระบบกฎหมายแบบ Civil Laws อย่างในประเทศไทย แต่จริง ๆ แล้วก็สำคัญกับแบบ Common laws ด้วยเพียงแต่การศึกษาแบบ Civil law ให้ความสำคัญกับกรอบความคิด หลักคิดอย่างเป็นระบบ Legal logic

ตรรกศาสตร์ กฎหมาย และการใช้งาน

กระบวนการแห่งความคิดในหลัก นิติตรรกศาสตร์ โดยที่มาของตรรกศาสตร์ มาจากหลักของปรัชา กล่าวคทิ ความรู้ ปัญญาที่เกิดจากความคิด โดยอาศัยอยู่ 3 หลักใหญ่ ๆ คือ

  • จริยศาสตร์ (Ethic) คืออุปนิสัยหรือหลักของความประพฤติ
  • สุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) การศึกษาถึงสุนทรียภาพ
  • ญาณวิทยา (Epistemology) การศึกษาเกี่ยวกับความรู้ของมนุษย์ หรือการแสวงหาความรู้

โดยทั้งสามนำมาซึ่งการใช้ความคิดอย่างมีเหตุผล หรือคือ ตรรกศาสตร์

ตรรกวิทยา กับ อริสโตเติล

กล่าวว่าการที่มนุษย์ จะเริ่มต้นกระบวนการคิดคือการที่เราจับจินตนาการไปยังภาพที่เริ่มจับต้องได้เป็นรูปธรรม หรือขยายความคิด

  • Image – เริ่มจากจินตภาพ เมื่อเกิดความสงสัย เป็นจินตนาการภาพจำลองขึ้นในหัวของมนุษย์ จึงต่อยอดเป็น
  • Concept – มโนภาพ จากภาพที่สะเปะสะปะ มนุษย์เริ่มประติดประต่อเรื่องราวให้เป็นหมวดหมู่เดียว ๆ กัน ให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น หรือนามธรรม ที่อธิบายได้ สุดท้ายนำไปสู่
  • Term บัญญัติศัพท์เพื่อนำไปขยายต่อ ได้แบบกระจ่างชัด และไม่กระจ่างชัด

หรือเรียกง่าย ๆ คือเริ่มต้นกับ คำถาม ที่ตรงไปสู่ คำตอบ

กระบวนการแห่งความคิด

  • Image: กล่าวคือการตั้งคำถาม ความสงสัยต่าง ๆ
  • นำไปสู่กระบวนการคิด และกรอบความคิด Concept
  • และช่วงการถ่ายถอดมันออกมา ได้ทั้งการเปรียบเทียบ เหมือนคล้ายต่าง เป็นการบัญญัติศัพท์ที่เราสงสัยในทีแรกและกระบวนการคิด ออกมาเป็น term

กล่าวคือช่วงของ Image และ Concept นั้นเป็นช่วงของการคิดหาเหตุผล (reasoning) และในส่วนของ Term คือการอ้างเหตุผล (argument) นั่นเอง

ยกตัวอย่างเช่น ข้อกฎหมาย

นิติศาสตร์คือศาสตร์ที่ว่าด้วยหลักเกณฑ์

เราต้องหาคือหาทฤษฎีของกฎหมาย ว่ากฎหมายนั้นอะไรคือบทเบื้องหลังและที่มาของกฎหมายคืออะไร และ Concept ของกฎหมายนี้ ทฤษฎีนี้คืออะไร

เช่น พรบ. หลักที่อยู่ใน พรบ. แต่ละอันนั้นไม่ใช่ทฤษฏี ไม่ใช่คอนเซป ไม่ใช่แนวคิด แต่เป็นการปรับทฤษฎี แนวคิดให้เป็น รูปธรรม

ดังนั้นที่สำคัญคือ เราต้องดูก่อนว่า คำถาม หรือ Image ที่สร้างขึ้นมานั้นมีทฤษฏีอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง ทฤษฎีนั้นมีหลักอย่างไร มีข้อยกเว้นอย่างไร

ซึ่งเราเอาหลักและทฤษฎีเหล่านั้นมาปรับเป็นรูปธรรมอีกทีหนึ่งที่สะท้อนตัวทฤษฎีนั้น

ตรรกศาสตร์ ใน นิติศาสตร์นั้น

ไม่ใช่กระบวนการหาคำตอบที่ถูกต้อง แต่เป็นการที่บอกเราว่าเหตุผลที่เราหยิบยกมานั้นเนี้ยสามารถรับฟังได้ มีเหตุผล

ในการที่หาคำตอบแต่ละอย่าง เราต้องหา คอนเซปก่อน ดูว่าแต่ละเรื่อง มีความเหมือน ต่าง คล้ายคลึงกันอย่างไร

ทฤษฎีกับแนวคิดของเรื่องคืออะไร มาเป็นฐานในการหาคำตอบและการให้เหตุผลใน นิติตรรกศาสตร์ นั้นเอง

สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญในการให้เหตุผลทางกฎหมาย

  1. ทฤษฎี / แนวคิด
  2. สำนักคิด (ธรรมชาติ, บ้านเมือง, ประวัติศาสตร์)
  3. การให้เหตุผล ต้องเพิ่มศาสตร์อื่น ๆ เข้าร่วมด้วยเช่น สังคม มนุษย์ศาสตร์ เศรษศาสตร์ หรืออื่น ๆ เข้ามาร่วมด้วย (เวลาศาลจะให้เหตุผล จะให้เอาศาสตร์อื่น ๆ มาผสมผสานด้วย จะไป approach กับศาสตร์อื่น ๆ มา Support ด้วย การให้เหตุผล เริ่มจากหลักการทางนิติศาสตร์ก่อน ต่อมาเป็นการพัฒนาเป็นกฎหมายอย่างไร สุดท้ายศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมีอะไรบ้าง )
  4. Hierarchy ของกฎหมาย ลำดับศักดิ์ของกฎหมาย
  5. รูปแบบ/เนื้อหา ของกฎหมาย

กล่าวโดยสรุป

การให้เหตุผล แบบมี ตรรกะ หรือมี Logic ทางกฎหมายที่เรานำยกมาคือแนวคิดของอลิสโตเติ้ลที่เล่าเกี่ยวกับกระบวนการที่ทำให้เกิดตรรกะการให้เหตุผลขึ้น นำมาจาก Image -> Concept -> Term รวมทั้งสิ่งที่เราต้องให้ความสำคัญใน การให้เหตุผลทางกฎหมาย หรือ Legal logic ต้องหาให้ได้ว่า ทฤษฎีแนวคิดนั้นคืออะไร มาจากแหล่งใด เหมือนหรือต่างกันอย่างไร สุดท้ายจะสรุปได้อย่างไร

  • ในบทความถัดไปเราจะมาเล่าถึง ตรรกะวิบัติหรือ fallacy กันครับ
  • Deduction , Induction
2 comments
ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You May Also Like
คนไร้ความสามารถ ตามกฎหมาย
Read More

คนไร้ความสามารถ ตามกฎหมาย

คนไร้ความสามารถ ตามกฎหมาย ระบุไว้ถึงความสามารถของบุคคลที่ทำให้บุคคลคนนั้นไม่สามารถทำนิติกรรมใด ๆ ได้แบบสมบูรณ์ และทำให้ต้องมีผุ้ที่คอยดูแล ทางกฎหมายเรียกว่าผู้อนุบาล ผู้ซึ่งดูแลคนไร้ความสามารถเพื่อรักษาสิทธิของเขาและครอบครัว
Read More