นิรนัย อุปนัย กฎหมาย

deduction induction นิรนัย อุปนัย กฎหมาย
deduction induction นิรนัย อุปนัย กฎหมาย
นิรนัย อุปนัย หรือ Deduction และ Induction คือส่วนสำคัญของ การให้เหตุผลทางกฎหมาย รูปแบบหนึ่งซึ่งมีความนิยม

นิรนัย อุปนัย หรือ Deduction และ Induction คือส่วนสำคัญของ การให้เหตุผลทางกฎหมาย รูปแบบหนึ่งซึ่งมีความนิยม

นิรนัย Deduction

ผมเริ่มจากการให้เห็นผลแบบนิรนัย หรือ Deduction ซึ่งผมเปรียบเทียบง่าย ๆ เหมือนดังสมการทางคณิตศาสตร์ เช่น A+C=D และแทนค่ามันด้วยตัวเลข 1+2=3 นั่นเอง

กล่าวคือ หากเราได้รู้ถึงหลักการและองค์ประกอบของแนวคิดอันนี้ ก็แค่แทนค่าสถานการณ์ต่าง ๆ ลงไปในข้อความนั้น ๆ เช่น

ผู้ใด+ฆ่าผู้อื่น = ผิดกฎหมาย

ต่อมา นายชมพูหยิบปืนเล็งไปที่นายส้มและยิงเข้าที่หัวจนนายส้มตายทันที หากแทนค่าของข้อความด้านบนผลที่จะได้ออกมาก็คือ

นายชมพู+ฆ่านายส้มถึงแก่ความตาย = ผิดกฎหมาย

กล่าวคือ สิ่งที่เราจะให้เหตุผล เราต้องทราบประเด็นหลักของเรื่องก่อนว่าเราจะให้เหตุผลเรื่องอะไร

หลักของ Deduction

หลักของนิรนัยคือ (Law of Validity) คือการเปรียบเทียบแบบสมเหตุผลกัน โดยมี ตัวแปรเข้ามาเกี่ยวข้อง deduction ต้องมีแก่น ศัพท์กลางต้องกระจ่างชัดอย่างน้อย 1 หน ถ้าเห็นด้วยจะเห็นด้วยถ้าหมด ถ้าไม่คล้องกัน 1 อย่างก็ไม่สามารถสอดคล้องทั้งหมด

อุปนัยInduction

คือการที่เรามีความคิดเห็น ความคิดแนวคิดอะไรต่าง ๆ ที่ดูเหมือนจะเกี่ยวข้องกันแต่ในตอนแรกยังไม่รู้จะเชื่อมโยงกันอย่างไร ในการให้เหตุผลแบบนี้คือการอุปมาอุปมัย ที่กว้างเนื่อเรื่องที่ให้เหตุผลคือการที่ เริ่มจากประเด็นย่อย ๆ ในหลาย ๆ ประเด็น และในท้ายที่สุดเอามมาเชื่อมซึ่งกันและกัน

แนวคิดของ John Stuart Mill เกี่ยวับ induction

วิธีการให้เหตุผลแบบอุปนัยของ Mill กล่าวไว้ใน 5 ประเด็นต่อจากนี้

  1. สอดคล้องกัน (Agreement) สรุปจากเหตุผลหลาย ๆ อย่างที่มีความสอดคล้องกัน
  2. แตกต่างกัน (Difference) สรุปจากเหตุบางอันที่ต่างไปจากอันอื่น ๆ
  3. สอดคล้องกันและแตกต่างกัน (Agreement & Difference) ใช้ทั้งสอดคล้องและต่างกัน
  4. ส่วนที่เหลือ (Residue) มีเหตุผลหลายอย่างที่ทำให้เกิดผลสุดท้ายร่วมกัน
  5. ผิดระดับกัน (Variation) เหตุเดียวกันถ้าเปลี่ยนระดับความเข้มข้นของการกระทำที่อาจจะเกิดผลต่างกันไปได้

ถ้าดูทั้งหมด คือแก่นของนิติศาสตร์แบบ อุปนัย คือการได้ให้เหตุผลที่สอดคล้องกัน / แตกต่างกัน / สอดคล้องและแตกต่าง / และตัด ส่วนที่เหลือ และผิดระดับกัน ให้สำรวจให้ครบทั้ง 5 ประเด็นและสามารถนำไปเขียนเป็นข้อสรุปได้

สรุป นิรนัย อุปนัย

คืออีกวิธีการให้เหตุผลทางกฎหมาย ซึ่งยังมีการให้เหตุผลแบบเทียบเคียงคือ Analogy อีกด้วย ซึ่งการให้เหตุผลนั้นมีความสำคัญต่อการเขียนการแสดงเหตุผลทางกฎหมายอย่างมาก ซึ่งอาจทำให้เราชนะคดี หรือไม่ชนะคดีได้จากการให้เหตุผลที่ถูกต้องแม้ไม่ได้มีที่ปรึกษากฎหมายนั้นเอง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You May Also Like
คนไร้ความสามารถ ตามกฎหมาย
Read More

คนไร้ความสามารถ ตามกฎหมาย

คนไร้ความสามารถ ตามกฎหมาย ระบุไว้ถึงความสามารถของบุคคลที่ทำให้บุคคลคนนั้นไม่สามารถทำนิติกรรมใด ๆ ได้แบบสมบูรณ์ และทำให้ต้องมีผุ้ที่คอยดูแล ทางกฎหมายเรียกว่าผู้อนุบาล ผู้ซึ่งดูแลคนไร้ความสามารถเพื่อรักษาสิทธิของเขาและครอบครัว
Read More