fallacy ทุตรรกบท

fallacy ทุตรรกบท
fallacy ทุตรรกบท
Fallacy ทุตรรกบท คือการที่ การให้เหตุผล เราเพี้ยนไปจากหลักการ ไม่ว่าจะเป็นการหยิบเรื่องอื่นมาใส่ในเรื่อง หรือเรื่องที่มันไม่ได้เกี่ยวข้องกัน

Fallacy ทุตรรกบท คือการที่ การให้เหตุผล เราเพี้ยนไปจากหลักการ ไม่ว่าจะเป็นการหยิบเรื่องอื่นมาใส่ในเรื่อง หรือเรื่องที่มันไม่ได้เกี่ยวข้องกัน หรือบิดเบือน

การจำแนกประเภทของ “ทุตรรกบท” เป็นหลายประเภท แต่อาจแบ่งได้
ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ด้วยกัน คือ

  • การให้เหตุผลวิบัติเชิงสาระ
  • การให้เหตุผลวิบัติเชิงวาจา

ทุตรรกบท fallacy

เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่นักนิติศาสตร์ต้องทำการศึกษาเป็นสิ่งแรก ๆ ของการเรียนกฎหมาย ต้องทำความเข้าใจถึงการให้เหตุผลที่วิบัติหรือบิดเบือนการให้เหตุผลนั้น

ซึ่งปัจจุบันเราเห็นการใช้ทุตรรกบทอย่างมากในสังคมไทย โดยเฉพาะในการตอบโต้ซึ่งกันและกันทางการเมือง

ซึ่งการที่เราไม่ใช้ Fallacy นั้นจะทำให้คำตอบเราตรงกับสิ่งที่คำถามมีมานั้น และยังทำให้ผู้ฟังเข้าใจสิ่งที่เรากำลังสื่อสารอีกด้วย ต้องเลี่ยงอคติหรือ Bias

ซึ่ง ทุตรรกบท จะมี 13 แบบจาก อลิสโตเติล

Fallacy of Aristotle’s มี 13 ข้อ

  1. การละทิ้งข้อยกเว้น (A dicto simpliciter ad dictum secundum quid)
  2. การสรุปเหมารวม (A dicto secundum quid ad dictum simpliciter )
  3. การสรุปนอกประเด็น (Ignoratio elenchi)
  4. การยืนยันผลและการปฏิเสธเหตุ (affirmans consequentis – antecedens)
  5. การทวนคำถาม (Petitio principii)
  6. การยกเหตุผลผิด (Non sequitur)
  7. การตั้งประเด็นซ้อน (Plurium interrogationum)
  8. การทับถมจุดอ่อน (paleae hominis)
  9. ความเคลือบคลุม
  10. การตีความหลายนัย
  11. การลงน้ำหนัก
  12. การใช้คำฟุ่มเฟือย

การละทิ้งข้อยกเว้น

(A dicto simpliciter ad dictum secundum quid)

การวางนัยทั่วไป โดยไม่คำนึงว่ามีข้อยกเว้นในเรื่องดังกล่าวอยู่ด้วย
ตัวอย่าง

  • “นิรโทษกรรม” ในกฎหมายละเมิด มาตรา ๔๔๙ – มาตรา ๔๕๒ ปพพ.
  • “เหตุยกเว้นความรับผิด” และ “เหตุยกเว้นโทษ” ในกฎหมายอาญา เช่น…
    • กระทำไปในขณะที่ไม่รู้ผิดชอบ (มาตรา ๖๕ และมาตรา ๖๖)
    • กระทำความผิดด้วยความจำเป็น (มาตรา ๖๗)
    • กระทำความผิดเพื่อป้องกันสิทธิของตนเองหรือของผู้อื่น (มาตรา ๖๘)
    • กระทำความผิดตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน (มาตรา ๗๐)

ซึ่งในข้อกฎหมายดังกล่าวที่ยกมานั้นจะมีข้อยกเว้นมาด้วย แต่ไม่ได้หยิบเอาข้อยกเว้นนั้นมาใช้

การสรุปเหมารวม

(A dicto secundum quid ad dictum simpliciter) การนำกรณีเฉพาะต่าง ๆ รวมเข้าเป็นกรณีทั่วไป

การสรุปนอกประเด็น

(Ignoratio elenchi) การหันเหความสนใจในประเด็นที่โต้เถียง แทนที่จะจัดการกับปัญหาโดยตรง

เหตุแห่งการสรุปนอกประเด็นนั้นอาจจะเกิดขึ้นได้จากบริบท ๗ ประการด้วยกัน คือ

  1. การโจมตีตัวบุคคล (argumentum ad hominem)
  2. การอ้างคนหมู่มาก (argumentum ad populum)
  3. การอ้างอำนาจ (argumentum ad baculum) หรือการอ้างความภักดี (argumentum ad fides)
  4. การอ้างปฐมาจารย์(argumentum ad verecundiam)
  5. การขอความเห็นใจ (argumentum ad misericordiam)
  6. การอ้างความไม่รู้ (argumentum ad ignorantiam)
  7. เหตุผลสืบทอดที่วิบัติ (geneticae fallacia)

การยืนยันผลและการปฏิเสธเหตุ

(affirmans consequentis – antecedens)

การสรุปสมมุติฐานโดยปราศจากเงื่อนไขที่สำคัญหรือเพียงพอมารองรับ ซึ่งอาจจะ เกิดจากการเข้าใจผิดคิดว่ามีเพียงข้อตั้งข้อเดียวเท่านั้นที่จะใช้อธิบายเพื่อไปสู่ข้อสรุป

ตัวอย่าง

  • นักการเมืองหลายคนเป็นคนขี้โกง สนช. ไม่ใช่นักการเมือง สนช.จึงไม่ขี้โกง
  • คนรวยไม่ขี้โกง นักการเมืองคนนี้รวย ดังนั้นนัการเมืองคนนี้จึงไม่ขี้โกง
  • หมามันต้องเห่า แต่ตัวนี้ไม่เห่า มันจึงไม่ใช่หมา
  • ถ้าฝนกำลังตก ท้องฟ้าจะมีเมฆมาก ขณะนี้ฝนไม่ตก ดังนั้นท้องฟ้าจึงไม่มีเมฆ
  • กปปส. บอกว่าต้องปฏิรูปประเทศ เธอพูดเรื่องเดียวกันแสดงว่าเธอต้องเป็น กปปส.
  • เสื้อแดงเรียกร้องประชาธิปไตย แกเรียกร้องประชาธิปไตยแสดงว่าแกเป็นเสื้อแดง

การทวนคำถาม

(Petitio principii)

การสรุปโดยใช้ใจความของสมมุติฐานมาเป็นคำตอบ เป็นการให้เหตุผลวนเวียน คือ ข้อสรุปสองอย่างหรือมากกว่าที่ถูกใช้เป็นสมมติฐานรองรับซึ่งกันและกัน แต่ถ้าเกิดข้อใดข้อ หนึ่งไม่เป็นจริง ข้อสรุปทั้งหมดจะกลายเป็นเท็จไปด้วย

ตัวอย่าง

  • พระเจ้ามีจริง ก็เพราะในพระคัมภีร์เขียนไว้ ดังนั้นพระเจ้าต้องมีจริง เพราะพระเจ้าเป็นผู้บัญญัติพระคัมภีร์
  • ถ้าผู้ประท้วงไม่ทำอะไรผิดกฎหมาย กฎหมายก็ไม่ห้ามทำหรอก
  • ทำไมเราต้องกตัญญูต่อพ่อแม่ เพราะการกตัญญูเป็นคุณธรรมที่ลูกต้องมี

การยกเหตุผลผิด

(Non sequitur)

การสรุปข้อถกเถียงจากข้อตั้ง (premise) แต่ข้อสรุปไม่เชื่อมโยงอย่างเป็นเหตุ เป็นผลกับข้อสนับสนุน ซึ่งอาจเกิดจากการสรุปโดยไม่ใช่เหตุผลหรือใช้เหตุผลในทางที่ผิดก็ได้ นอกจากนี้แล้วการใช้เหตุผลแบบนี้อาจเกิดการที่ผู้ใช้ตรรกะตีกรอบให้โดย กำหนดตัวเลือกเพียงสองทาง ทางเลือกหนึ่งเป็นทางเลือกที่ดูแย่ที่สุด ส่วนอีกทางเลือก
หนึ่งเป็นทางเลือกที่ดูดีที่สุด เพื่อโน้มน้าวให้ผู้รับสารเลือกทางเลือกที่ตัวเองมี “ธงคำตอบ” ในใจ

ตัวอย่าง

  • คนเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หลินฮุ่ยเลี้ยงลูกด้วยนม ดังนั้นหลินฮุ่ยเป็นคน
  • จะเอาเผด็จการดี ๆ หรือจะเอาประชาธิปไตยเลว ๆ

การตั้งประเด็นซ้อน

(Plurium interrogationum)

การตั้งประเด็นคำถามหลายอย่างลงในคำถามเดียว เพื่อลวงให้ผู้ตอบตอบอย่าง ไม่ระมัดระวัง

ตัวอย่าง

  • เธอเลิกเจ้าชู้หรือยัง
  • เธอเลิกลอกข้อสอบหรอยัง

การทับถมจุดอ่อน

(paleae hominis)

การบิดเบือนข้อถกเถียงของผู้อื่นเพื่อโจมตีผู้นั้น ทำให้ดูประหนึ่งว่าตนเองมีเหตุมีผลมากกว่า ทั้งที่ข้อเถียงของตนนั้นไม่ใช่ข้อเถียงในสิ่งที่คู่สนทนาอ้างขึ้นแม้แต่น้อย ซึ่งอาจเรียกการใช้ตรรกะแบบนี้ได้ว่าเป็น “หุ่นฟาง” ที่ตนตั้งขึ้นมายิงเองเท่านั้น

ตัวอย่าง

  • หากประชาธิปไตยคือความเท่าเทียม ผู้ที่ออกมาเดินขบวนเรียกร้องจะผิดจะถูกก็ต้องว่ากัน
    ไป หากจะปล่อยตัวโดยไม่มีเงื่อนไข มันจะไปเท่าเทียมกับคนอื่นได้อย่างไร
  • บุคคลที่ถูกจับกุมไม่ได้เกิดจากความเห็นต่าง แต่เกิดจากการขัดคำสั่งรัฐบาล

ความเคลือบคลุม

(equivocation)

การใช้คำเดียวกันที่สื่อถึงความหมายได้มากกว่านัยเดียว หรือใช้คำๆ เดียวเป็น ทั้งข้อตั้ง (premise) และข้อสรุป (conclusion) แต่ใช้ในลักษณะคนละความหมายกัน

ตัวอย่าง

  • เขาเป็นคนที่เขียนงานวิชาการเก่ง แต่งานที่เขาเขียนนั้นล้วนแต่ลอกงานของคนอื่นมา จนหลายคนเข้าใจว่าเป็นงานที่เขาสร้างสรรค์ขึ้น แต่เมื่อมีคนรู้มากขึ้นเขาจึงออกมาแก้ตัวว่า “คนทำผิด คือคนที่ทำ ส่วนคนที่ไม่ได้ทำผิดก็คือคนที่ไม่ได้ทำอะไรเลย”
  • เธอศรัทธาในตัวเขามาก ๆ เมื่อศรัทธาแปลว่าเชื่อโดยไม่ใช่เหตุผล เธอจึงเป็นคนไม่มีเหตุผล

การตีความหลายนัย

(amphibology)

ประโยคที่มีโครงสร้างไวยกรณ์กำกวมย่อมตีความได้หลายนัย

ตัวอย่าง

  • เด็กไม่ควรออกจากบ้านหลังสามทุ่มเพราะอันตราย
ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You May Also Like
คนไร้ความสามารถ ตามกฎหมาย
Read More

คนไร้ความสามารถ ตามกฎหมาย

คนไร้ความสามารถ ตามกฎหมาย ระบุไว้ถึงความสามารถของบุคคลที่ทำให้บุคคลคนนั้นไม่สามารถทำนิติกรรมใด ๆ ได้แบบสมบูรณ์ และทำให้ต้องมีผุ้ที่คอยดูแล ทางกฎหมายเรียกว่าผู้อนุบาล ผู้ซึ่งดูแลคนไร้ความสามารถเพื่อรักษาสิทธิของเขาและครอบครัว
Read More