การหมั้น กฎหมายครอบครัว

woman holding man s hand
Photo by Emma Bauso on Pexels.com
การหมั้น ในกฎหมายครอบครัวไทย มาต่อกันหลังจากที่สัปดาห์ที่แล้วผมนำเสนอเกี่ยวกับโครงสร้างของกฎหมายครอบครัวไทย ไปแล้วว่ามีความสำคัญ

การหมั้น ในกฎหมายครอบครัวไทย มาต่อกันหลังจากที่สัปดาห์ที่แล้วผมนำเสนอเกี่ยวกับโครงสร้างของกฎหมายครอบครัวไทย ไปแล้วว่ามีความสำคัญอย่างไรและมีเรื่องอะไรบ้างครับ จากการทำที่ปรึกษากฎหมายธุรกิจ ได้เห็นถึงความสำคัญตรงสถาบันครอบครัวเป็นอย่างมาก วันนี้เรามาพูดถึงการหมั้นกันต่อครับ

การหมั้น ในโครงสร้าง

จากรูปนี้เราจะเห็นว่า(ถ้าอ่านออก) การหมั้นนั้นจะต่อยอดไปในทิศทางไหนได้บ้าง เช่นสัญญาหมั้นที่สมบูรณ์ สัญญาหมั้นที่โมฆียะ สัญญาหมั้นที่เป็นโมฆะ

ถ้าการหมั้นที่สมบูรณ์คงไม่เป็นปัญหาเพราะมันนำไปสู่การจดทะเบียนสมรสใช่ไหมล่ะครับ

แต่จะเป็นปัญหาทันที่ ถ้าสัญญาหมั้นนั้นสมบูรณ์ แต่ภายหลังไม่มีการจดทะเบียนสมรส

  • ฝ่ายชายผิด ฝ่ายหญิงสามารถเรียกค่าทดแทนได้ ไม่ต้องคืนของหมั้น และไม่ต้องคืนสินสอดอีก
  • ฝ่ายหญิงผิด ฝ่ายชายก็สามารถเรียกค่าทดแทนได้ เรียกคืนของหมั้น และเรียกคืนสินสอดได้ด้วย

ในกรณีที่คู่หมั้นตาย ก็ไม่สามารถเรียกคืนอะไรได้เลย

เลิกสัญญา หมั้น มี 3 กรณี

  • เลิกสัญญาด้วยความยินยอม
  • เลิกสัญญาด้วยมีเหตุสำคัญ
  • เลิกสัญญาเพราะมีการกระทำชั่วอย่างร้ายแรงของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

การหมั้นต้องทำโดยชอบด้วยกฎหมายอายุเกิน 17 ปี 

“”มาตรา 1435 การหมั้นจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปี บริบูรณ์แล้ว 

การหมั้นที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติวรรคหนึ่งเป็นโมฆะ

ของหมั้น และ สินสอด

ของหมั้น

ของหมั้นกลายเป็นกรรมสิทธิของฝ่ายหญิงทันที อาศัยอำนาจของกฎหมาย มาตรา 1437

“”มาตรา 1437 วรรคหนึ่ง การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น

วรรคสอง เมื่อหมั้นแล้วให้ของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิง

สินสอด

1437 วรรคสาม สินสอด เป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง แล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงหรือโดยมีพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้

//ในมาตรา 1437 วรรคสามได้ให้นิยามของสินสอดไว้ ซึ่งแตกต่างกับของหมั้น และจะมีหรือไม่มีก็ได้ แต่จะต้องเป็นการมอบให้ ผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือผู้ปกครองของฝ่ายหญิง และยังกำหนดสิทธิที่จะเรียกสินสอดคืนด้วย

1437 วรรคสี่ ถ้าจะต้องคืนของหมั้นหรือสินสอดตามหมวดนี้ให้นำบทบัญญัติมาตรา 412 ถึงมาตรา 418 แห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับโดยอนุโลม

//ในมาตรา 1437 วรรคสี่นั้น ระบุว่าหากมีเหตุการคืนนั้น ให้คืนของในฐานะลาภมิควรได้มาบังคับใช้โดยอนุโลม

ผู้เยาว์ทำการหมั้นต้องได้รับความยินยอม

การกระทำชั่วอย่างร้ายแรง

Reference เพิ่มเติม 

กรณีบอกเลิกสัญญาหมั้นเพราะการกระทำชั่วอย่างร้ายแรงของคู่หมั้น

ตามปกติแล้วการเลิกสัญญาหมั้นเรียกค่าทดแทนจากกันไม่ได้ เช่น หมั้นกันแล้วชายเกิดวิกลจริต กรณีนี้ถือว่ามีเหตุสำคัญอันเกิดกับชายคู่หมั้น หญิงคู่หมั้นบอกเลิกสัญญาหมั้นกับชายที่วิกลจริตนี้ได้ แต่จะเรียกค่าทดแทนจากชายที่วิกลจริตนี้ไม่ได้ กฎหมายยกเว้นไว้เฉพาะ ป.พ.พ. มาตรา 1444 ถ้าเป็นกรณีเลิกสัญญาหมั้นเพราะเป็นการกระทำชั่วอย่างร้ายแรงของคู่หมั้นสามารถเรียกค่าทดแทนได้ มาตรา 1444 นี้ เป็นกรณีที่ชายเรียกค่าทดแทนจากหญิงเพราะหญิงกระทำชั่วอย่างร้ายแรง หรือหญิงเรียกค่าทดแทนจากชายเพราะชายกระทำชั่วอย่างร้ายแรงภายหลังการหมั้นนั่นเอง

ซึ่งการกระทำชั่วอย่างร้ายแรงนั้นให้พิจารณาจากความรู้สึกของวิญญูชนทั่วไปว่าการกระทำนั้นเป็นการกระทำชั่วอย่างร้ายแรงหรือไม่ เช่น หมั้นกันแล้วไปปล้นทรัพย์ ไปฆ่าคนตาย เสพเฮโรอีน เล่นการพนันเป็นอาจิณ เป็นชู้กับภรรยาคนอื่น ถือว่ากระทำชั่วอย่างร้ายแรง แต่การไปยุ่งเกี่ยวกับสุรานารีพาชีกีฬาบัตรชั่วครั้งชั่วคราวยังไม่ถือว่าเป็นการกระทำชั่วอย่างร้ายแรง

“”มาตรา 1444 ถ้าเหตุอันทำให้คู่หมั้นบอกเลิกสัญญาหมั้นเป็นเพราะการกระทำชั่วอย่างร้ายแรงของคู่หมั้นอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งได้กระทำภายหลังการหมั้น คู่หมั้นผู้กระทำชั่วอย่างร้ายแรงนั้นต้องรับผิดใช้ค่าทดแทนแก่คู่หมั้นผู้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นเสมือนเป็นผู้ผิดสัญญาหมั้น

//มาตรา 1444 จึงเป็นการก่อสิทธิที่เกิดขึ้นในการบอกเลิกสัญญา ถ้าคู่สัญญาผิด ให้ฝ่ายประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงนั้นเป็นเสมือนกับว่าเป็นผู้ผิดสัญญาหมั้น ต้องกระทำหลังการหมั้น และหากมีฝ่ายผิดนั้น สามารถ อาศัยอำจาจแห่งบทบัญญัติ 1439 ในการเรียกค่าทดแทนได้

“”มาตรา 1439 เมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกให้รับผิดใช้ค่าทดแทน ในกรณีที่ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายด้วย

ซึ่งเงื่อนไขการหมั้นนั้นต้องมี การส่งมอบของหมั้นไว้เป็นหลักฐานด้วย

เหตุการผิดสัญญาหมั้นเรื่องเวลา

  1. กำหนดเวลาเอาไว้
  2. หากไม่มีกำหนดเวลา → ต้องทวงถาม 204 ถ้าทวงถามแล้วไม่ชำระหนี้ => ผิดนัดชำระหนี้

ผลแห่งการผิดสัญญาหมั้น เรียกให้ชำระหนี้ (ไปสมรส)ไม่ได้ 

  1. เรียกค่าทดแทนได้ กรณีเกิดความเสียหาย หรือไม่มีเหตุอันจะอ้างได้ 1440 (1) หรือ (2),(3) 
  2. สิทธิในการบอกเลิกสัญญาหมั้น
    1. มาตรา 1442 ในกรณีมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงคู่หมั้นทำให้ชายไม่สมควรสมรสกับหญิงนั้น ชายมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นได้และให้หญิงคืนของหมั้นแก่ชาย
  1. มาตรา 1443 ในกรณีมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่ชายคู่หมั้นทำให้หญิงไม่สมควรสมรสกับชายนั้น หญิงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นได้โดยมิต้องคืนของหมั้นแก่ชาย
  2. เรียกคืนของหมั้น

มาตรา 1439 เมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกให้รับผิดใช้ค่าทดแทน ในกรณีที่ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายด้วย

  1. เรียกคืนสินสอด

มาตรา 1437 วรรคสาม สินสอด เป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง แล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงหรือโดยมีพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้

เรื่องถัดไป
  • เรามาคุยกันเรื่องของการที่ค่าทดแทนในกรณีที่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาหมั้นกันครับ
ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You May Also Like
คนไร้ความสามารถ ตามกฎหมาย
Read More

คนไร้ความสามารถ ตามกฎหมาย

คนไร้ความสามารถ ตามกฎหมาย ระบุไว้ถึงความสามารถของบุคคลที่ทำให้บุคคลคนนั้นไม่สามารถทำนิติกรรมใด ๆ ได้แบบสมบูรณ์ และทำให้ต้องมีผุ้ที่คอยดูแล ทางกฎหมายเรียกว่าผู้อนุบาล ผู้ซึ่งดูแลคนไร้ความสามารถเพื่อรักษาสิทธิของเขาและครอบครัว
Read More