1303 สังหาริมทรัพย์ชิ้นเดียวกันใครมีสิทธิดีสุด

1303 สังหาริมทรัพย์ แพ่งและพาณิชย์สิทธิดีกว่า
1303 สังหาริมทรัพย์ แพ่งและพาณิชย์สิทธิดีกว่า
1303 สังหาริมทรัพย์ชิ้นเดียวกันใครมีสิทธิดีที่สุดในการ ถือเอาเป็นของตน อันนี้ก็จะมีประเด็นเวลาที่ซื้อของชิ้นเดียวกันในหลาย ๆ คน ต่างฝ่ายต่างอ้างว่าตนมี

1303 – สังหาริมทรัพย์ชิ้นเดียวกันใครมีสิทธิดีที่สุดในการ ถือเอาเป็นของตน อันนี้ก็จะมีประเด็นเวลาที่ซื้อของชิ้นเดียวกันในหลาย ๆ คน ต่างฝ่ายต่างอ้างว่าตนมีสิทธิ์ในทรัพย์ชิ้นนั้น แล้วสรุปของอันนี้เป็นของใคร เรามาดูกฎหมายที่ว่าไว้ในเรื่องนี้กันดีกว่า

เรียกเอาทรัพย์ชิ้นเดียวกัน

ในกฎหมายมีมาตราที่บัญญัติไว้ในเรื่องนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1303

มาตรา 1303 วรรคแรก

“ถ้าบุคคลหลายคนเรียกเอาสังหาริมทรัพย์เดียวกัน โดย อาศัยหลักกรรมสิทธิ์ต่างกันไซร้ ท่านว่าทรัพย์สินตกอยู่ในครอบครองของบุคคลใด บุคคลนั้นมีสิทธิยิ่งกว่าบุคคลอื่น ๆ แต่ต้องได้ทรัพย์นั้นมาโดยมีค่าตอบแทนและได้ การครอบครองโดยสุจริต

โดยองค์ประกอบของมาตรานี้นั้น เราสามารถเขียนได้ว่า วรรคแรกเป็นหลักของกฎหมายข้อนี้ แต่เป็นข้อยกเว้นเรื่อง ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน

หลัก “ถ้าบุคคลหลายคนเรียกเอาสังหาริมทรัพย์เดียวกัน โดย อาศัยหลักกรรมสิทธิ์ต่างกันไซร้ ท่านว่าทรัพย์สินตกอยู่ในครอบครองของบุคคลใด บุคคลนั้นมีสิทธิยิ่งกว่าบุคคลอื่น ๆ” โดยต้องมีองค์ประกอบ 3 ข้อ

  1. ครอบครองอยู่
  2. ได้มาโดยเสียค่าตอบแทน
  3. สุจริต

ตัวอย่างฎีกา 3247/2533

โจทก์ทำสัญญาซื้อรถยนต์จากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1 ได้มอบรถยนต์ให้โจทก์ครอบครองตั้งแต่วันทำสัญญาแต่จำเลยที่ 3 นั้นได้ขายรถยนต์พิพาทให้กับจำเลยที่ 4 แม้จำเลยที่ 4จะรับซื้อรถยนต์พิพาทไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน แต่จำเลยที่ 4ก็มิได้ครอบครองรถยนต์พิพาท ดังนั้นเมื่อรถยนต์พิพาทตกอยู่ ในความครอบครองของโจทก์ และโจทก์ได้รถยนต์นั้นโดยมีค่าตอบแทน และได้ครอบครองโดยสุจริต โจทก์จึงมีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 4 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1303

อธิบายเพิ่มเติม

โจทก์ซื้อรถจากตัวแทนของเจ้าของกรรมสิทธิ์ ซึ่งรถยนต์อยู่ในการครอบครองของตัวแทนของเจ้าของ และตัวแทนได้ส่งมอบไปยังโจทก์ให้ครอบครอง

ต่อมาเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้ไปทำสัญญาซื้อขายอีกฉบับกับบุคคลภายนอก ซึ่งเจ้าของกรรรมสิทธิ์ไม่มีรถอยู่ในครอบครอง ณ เวลาดังกล่าว

บุคคลที่ซื้อรถจากเจ้าของกรรมสิทธิ แม้จะทำสัญญาโดยสุจริต และเสียค่าตอบแทน แต่ก็ไม่ได้ครอบครองรถยนต์ชิ้นนั้น

และขณะเดียวกันโจทก์ก็ ซื้อรถยนต์ โดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และครอบครองอยู่ในขณะนั้น ย่อมมีสิทธิดีกว่าตามมาตรา 1303 วรรคแรกนี้

มาตรา 1303 วรรคหลัง

ท่านมิให้ใช้มาตรานี้บังคับถึงสังหาริมทรัพย์ซึ่งระบุไว้ในมาตราก่อนและในเรื่องทรัพย์สินหาย กับทรัพย์สินที่ได้มาโดยการกระทำผิด “

ส่วนวรรคหลังของมาตรา 1303 คือข้อยกเว้นของข้อยกเว้นอีกทีหนึ่ง เพราะมิให้ใช้มาตรานี้กับ

  1. สังหาริมทรัพย์ซึ่งระบุไว้ในมาตราก่อน
  2. ทรัพย์สินหาย
  3. ได้มาโดยการกระทำผิด

ตัวอย่างฎีกา 185/2508 

สลากกินแบ่งของโจทก์หายไป จำเลยซึ่งเป็นพ่อค้าจำหน่าย สลากกินแบ่งรับซื้อไว้โดยเปิดเผยและโดยสุจริต ไม่ทราบว่าเป็นสลากกิน แบ่งของโจทก์ที่หายไปเช่นนี้ เมื่อผู้ขายมิใช่เจ้าของสลากและไม่มีอำนาจ จะเอามาขายได้  จำเลยผู้รับซื้อก็ไม่ได้กรรมสิทธิในสลากกินแบ่งนั้น

สลากกินแบ่งของโจทก์หายไป = สลากกินแบ่งหายไปจากเจ้าของสิทธิในฉลากที่แท้จริง และทรัพย์คือกระดาษบันทึกสิทธิในสลาก ต่อมามีการขายให้พ่อค้าสลาก แม้พ่อค้าซื้อโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และถือครองอยู่นั้น ก็ไม่สามารถมีสิทธิดีกว่าเจ้าของที่แท้จริงได้ เพราะสลากที่ได้มา มาจากการสูญหาย ตามมาตรา 1303 วรรคท้าย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You May Also Like
คนไร้ความสามารถ ตามกฎหมาย
Read More

คนไร้ความสามารถ ตามกฎหมาย

คนไร้ความสามารถ ตามกฎหมาย ระบุไว้ถึงความสามารถของบุคคลที่ทำให้บุคคลคนนั้นไม่สามารถทำนิติกรรมใด ๆ ได้แบบสมบูรณ์ และทำให้ต้องมีผุ้ที่คอยดูแล ทางกฎหมายเรียกว่าผู้อนุบาล ผู้ซึ่งดูแลคนไร้ความสามารถเพื่อรักษาสิทธิของเขาและครอบครัว
Read More